วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลิพิด

ลิพิด

ลิพิดหรือไขมัน คือ สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายนํ้า แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอื่น เช่น อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม เบนซิน อะซีโตน ฯลฯโมเลกุลลิพิดประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน เช่นเดียวกับ คาร์โบไฮเดรต แต่สัดส่วนของธาตุแตกต่างกัน ลิพิดที่สำคัญ ได้แก่
-ไขมันธรรมดา (Simple Lipid)
ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล กับกรดไขมัน 1, 2 หรือ 3 โมเลกุลก็ได้ ซึ่งเรียกว่า มอโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride), ไดกลีเซอไรด์ (diglyceride) หรือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ตามลำดับ ไขมันที่พบมากที่สุดในสัตว์และพืชคือ ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันและนํ้ามันทุกชนิดมีกลีเซอรอลเหมือนๆ กัน สิ่งที่ทำให้ไขมันและนํ้ามันมีหลายชนิดและมีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพแตกต่างกัน คือ กรดไขมันต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ

กรดไขมัน มีทั้งที่เป็นองค์ประกอบของลิพิดต่างๆ และอยู่ในรูปอิสระ โดยทั่วไปกรดไขมันจากธรรมชาติ มีแกนโมเลกุลเป็นคาร์บอน จำนวนเป็นคู่ เรียงเป็นสายยาวไม่แตกแขนง ที่พบมากที่สุดคือ กรดไขมันคาร์บอน 16 ตัว และ 18 ตัว กรดไขมันแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ได้หลายอย่าง ดังนี้
แบ่งตามระดับความอิ่มตัว
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่คาร์บอนต่อกับคาร์บอนด้วย พันธะเดี่ยว เช่น กรดปาลมิติก (C15H31COOH), กรดสเตียริก (C17H35COOH)
   2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีคาร์บอนบางอะตอมต่อกันด้วยพันธะคู่ ทำให้โมเลกุลไขมันจับไฮโดรเจนได้ลดลง 2 อะตอมต่อพันธะคู่ 1 พันธะ เช่น กรดโอเลอิก (C17H33COOH) ซึ่งมีพันธะคู่ 1 พันธะกรดไลโนเลอิก (C17H31COOH)
    แบ่งตามความต้องการทางโภชนาการ
    1. กรดไขมันจำ เป็น (essential fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร มีชนิดเดียวคือ กรดไลโนเลอิก มีมากในนํ้ามันพืชต่าง ๆ (ยกเว้น นํ้ามันปาล์มและนํ้ามันมะพร้าว) และไขมันสัตว์นํ้า เช่น ปลา หอย ความสำคัญ คือ เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ผนังหลอดเลือด และเยื่อหุ้มเซลล์ รวมตัวกับโคเลสเตอรอลเพื่อขนส่งไปในกระแสเลือด ซึ่งจะมีผลให้ลดระดับ โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
    2. กรดไขมันไม่จำเป็น (nonessential fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ และมีอยู่มากในอาหารไขมันทั่ว ๆ ไป
    แบ่งตามความยาวของสาย
    1. กรดไขมันสายสั้น และกรดไขมันสายปานกลาง (shot and medium chain fatty acids) เป็นกรดไขมันที่ประกอบด้วยคาร์บอน 4 – 8 อะตอม และ 10 – 12 อะตอม พบมากในไขมันจากพืช (ยกเว้นนํ้ามันมะพร้าวและนํ้ามันปาล์ม) อยู่ในสภาพที่เป็นนํ้ามัน
    2. กรดไขมันสายยาว (long chain fatty acid) ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 14 อะตอมขึ้นไปจนอาจจะมากถึง 24 อะตอม พบมากในไขมันสัตว์ แข็งตัวง่าย

    - ไขมันเชิงประกอบ (Compound Lipid)
    ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) โครงสร้างคล้ายไตรกลีเซอไรด์ (กลีเซอรอลจับกับกรดไขมัน 3 โมเลกุล) แต่มีหมู่ฟอสเฟตแทนที่กรดไขมัน 1 โมเลกุล โดยหมู่ฟอสเฟตมักจับหมู่สารประกอบไนโตรเจนที่มีประจุ ทำให้โมเลกุล ฟอสโฟลิพิดประกอบด้วย 2 ส่วนที่มีสมบัติต่างกัน
    • ส่วนที่ชอบนํ้า (hydrophilic part) คือ ส่วนที่เป็นหมู่ฟอสเฟตและสารประกอบไนโตรเจนที่มีประจุ เป็นส่วนหัวที่มีขั้ว (polar head) มีสมบัติละลายนํ้า
    • ส่วนที่ไม่ชอบนํ้า (nonpolar tail) คือ ส่วนใหญ่ของโมเลกุลที่เป็นกรดไขมัน เป็นส่วนหางที่ไม่มีขั้ว (nonpolar tail) ไม่ละลายนํ้า
    โมเลกุลฟอสโฟลิพิดเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีโมเลกุลฟอสโฟลิพิด หนา 2 ชั้น เรียงตัวจัดส่วน ไม่ชอบนํ้าอยู่ด้านในและประกบกัน ส่วนชอบนํ้าอยู่ด้านนอก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน สารไม่มีขั้วและสารละลายได้ในไขมันผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่ สารมีขั้วต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพาหรือใช้พลังงานด้วย นอกจากนี้โมเลกุลฟอสโฟลิพิดยังทำหน้าที่ล้อมรอบหยดไขมัน ทำให้ลำเลียงไขมันไปในเลือดซึ่งเป็นตัวกลางแบบนํ้าได้
    - อนุพันธ์ของไขมัน (Derived Lipid)
    สเตรอยด์ เป็นลิพิดที่มีโครงสร้างแตกต่างจากไขมันและฟอสโฟลิพิด ประกอบด้วยวงของคาร์บอน 5 หรือ 6 อะตอม ต่อกัน 4 วง สเตรอยด์ที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต, โคเลสเตอรอล, วิตามินดี
    โคเลสเตอรอล เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์โดยเพาะเซลล์ประสาท เป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนสเตรอยด์

    http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/288-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%94+(lipid)?groupid=132

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น