วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาณาจักรโปรติสตา

อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรโพรทิสตา


การจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์นั้นเกิดปัญหาที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิต บางชนิดมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตว์วิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอยู่ทั้งสองอาณาจักร ดังนั้น Ernst Haeckel นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้ เสนอชื่อ โปรติสตา (protista) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกแรก ๆ ขึ้นมาใช้ จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ “อาณาจักรโปรติสตา”
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา 
1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม 
1. ไฟลัมโพรโทซัว (Phylum Protazoa)
2. ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta)
3. ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta)
4. ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)
5. ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
6. ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta)
7. ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta)
8. ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta)
9. ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต -อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต

1.อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
      - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
     - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ 
1ไฟลัมชิโซไมโคไฟตา (PHYLUM SCHIZOMYCOPHYTA) แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เซลล์ของแบคทีเรียมีผนังเซลล์ซึ่งเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน บางชนิดมีแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มอยู่ เพื่อป้องกันอันตรายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือรูปร่างกลม (COCCUS) รูปร่างเป็นท่อน (BACILLUS) และพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียว (SPIRILLUM)


ตัวอย่างแบคทีเรียงรูปร่างต่าง  

2.ไฟลัมไซยาโนไฟตา (PHYLUM CYANOPHYTA) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (BLUE GREEN ALGAE) เช่น Oscillatoria Sp.,Spirulina Sp.,Anabaena Sp. เป็นต้น

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชีววิทยา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวหนังสือชีววิทยา



ชีววิทยา (Biology)

    คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอย่างมีเหตุและผล ซึ่งศึกษาทั้งในเรื่อง ด้านโครงสร้าง ด้านการทำงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านวิวัฒนาการ ด้านถิ่นกำเนิด ด้านอนุกรมวิธาน ด้านการกระจายพันธุ์ และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุมีผลในทุกแง่ทุกมุมของสิ่งมีชีวิตโดยละเอียด ซึ่งจะพึ่งพาการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ




อ้างอิง  http://www.thaibiotech.info/tag/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เเนะนำตัว

นางสาวธัญญรัตน์   ปัดธุลี  
อายุ17ปี ชื่อเล่น เเบม
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่.6/1 
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม 
งานอดิเรก เล่นเกมส์
รักในวิชาชีววิทยา
คติประจำใจ ฝันสุดใจ ใส่สุดเเรง
ความสามารถพิเศษ เล่นดนตรีสากล