วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันวิชาการ

วันวิชาการ





ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

พิธีเปิด


ในภาพอาจจะมี ห้องรับแขก, ตาราง และ สถานที่ในร่ม
กลุ่มสาระเเนะเเนว


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม
กลุ่มสาระสังคมศึกษา

ในภาพอาจจะมี 1 คน

กลุ่มสาระภาษาไทย

ในภาพอาจจะมี 1 คน

กลุ่มสาระต่างประเทศ

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง

กลุ่มสาระสุขศึกษา

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง

กลุ่มสาระการงานอาชีพ

ในภาพอาจจะมี ต้นพืช และ สถานที่กลางแจ้ง

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

ในภาพอาจจะมี 1 คน

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

ในภาพอาจจะมี 12 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนอยู่บนเวที และ ผู้คนกำลังยืน



ในภาพอาจจะมี 6 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ อาหาร



ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 8 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ อาหาร


ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังนั่ง

ในภาพอาจจะมี 7 คน, สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี 10 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังเต้นรำ




การทำไวน์องุ่น

การทำไวน์องุ่น

ไวน์ (Wine) หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมักน้ำองุ่นด้วยยีสต์ องุ่น (Vitis vinifera) ที่ใช้ทำไวน์มีหลายพันธุ์ซึ่งได้มีการคัดเลือกมาแต่โบราณจนลงตัว จนไวน์กลายเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความหฤหรรษ์กับผู้คนหลายชนชาติมาเนิ่นนาน และเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสเน่ห์ด้านรสชาติที่มีความหลากหลาย เหมาะกับดื่มในระหว่างรับประทานอาหารพร้อมกับอาหารนานาชนิด ตลอดจนสามารถดื่มในโอกาสอื่นๆ ได้มากมาย ทั้งดื่มกับอาหารเป็นประจำ หรือใช้ในการเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษ

การทำไวน์ต้องเริ่มจากองุ่น

ไม่มีใครจะทำไวน์ที่ดีจากองุ่นที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้นคนทำไวน์จึงต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษกับองุ่นในไร่ ถึงกับมีคนกล่าวว่า คุณภาพของไวน์นั้นมาจากองุ่นถึงร้อยละ 70 และอีกร้อยละ 30 ได้จากการทำไวน์ที่ถูกต้อง องุ่นมีส่วนประกอบที่สำคัญต่อการทำไวน์ ได้แก่น้ำตาล กรด สารโพลีฟีนอลจากเปลือกองุ่น และสารอาหารที่สำคัญต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญของยีสต์ ดังนั้นคนทำไวน์จึงต้องคอยตรวจสอบคุณภาพขององุ่นอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะพอใจว่าจะเก็บไปทำไวน์ได้
น้ำองุ่นที่เหมาะจะนำไปทำไวน์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้ น้ำตาล (กลูโคส และฟรุคโตส อย่างละเท่าๆ กัน) รวมไม่น้อยกว่า 220 กรัมต่อลิตร กรด (ประกอบด้วยกรดทาร์ทาริคและกรดมาลิค) รวมประมาณ 6 กรัมต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 3.5 ถ้าเป็นไวน์แดงองุ่นต้องสุกมีสีดำเข้ม

การแยกก้านและบีบองุ่น (Desteming & Crushing)

นำองุ่นใส่เครื่องที่จะหมุนตีให้ก้านหลุดออกจากผล และบีบให้ผลองุ่นแตก จากนั้นถ้าเป็นไวน์ขาว จะปั๊มองุ่นเข้าสู่เครื่องบีบอัดด้วยลม เหมือนเป่าลูกโป่งให้พองไปอัดองุ่นเข้ากับผนังเครื่องเพื่อบีบเอาน้ำออกโดยไม่ทำให้เมล็ดแตก เพราะเมล็ดองุ่นมีรสขม แล้วปั๊มน้ำองุ่นไปสู่ถังตกตะกอนเพื่อให้ได้น้ำองุ่นที่ใสสำหรับหมักไวน์ขาว ในช่วงนี้จะเติมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อป้องกันปฏิกริยาการเกิดสีน้ำตาล และยับยั้งยีสต์ธรรมชาติที่ไม่ต้องการ

ภายในเครื่องแยกก้าน

เครื่องบีบน้ำองุ่นแบบลูกโป่ง
ถ้าเป็นไวน์แดงจะนำองุ่นที่บีบแล้วทั้งผลไปหมักในถังหมักเพื่อสกัดสีขององุ่นให้ได้ไวน์แดง
ในสมัยโบราณ เครื่องบีบองุ่นจะทำเป็นถังไม้ มีร่องให้น้ำองุ่นไหลออก ใช้เกลียวหมุนให้แผ่นเหล็กบีบกดลงบนองุ่น
เครื่องบีบองุ่นแบบดั้งเดิม

การทำน้ำองุ่นให้ใสก่อนหมัก (Cold Settling)

สำหรับไวน์ขาว ขั้นตอนนี้จะใช้อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 10 องศาเซลเซียส เพื่อให้ตะกอนในน้ำองุ่นตกลงก้นถัง ใช้เวลาประมาณ 3 วัน แล้วจึงแยกส่วนใสไปหมัก หรืออาจใช้วิธีหมุนเหวี่ยง (Centrifugation) หรือการกรอง (Filtration) ก็ได้

การหมัก (Fermentation)

ถังหมักไวน์แดงแบบปั๊มน้ำไวน์ให้ชะเปลือกองุ่น
น้ำองุ่นขาวที่ตกตะกอนแล้วจะปั๊มสู่ถังหมัก แล้วเติมยีสต์เพื่อให้เกิดการหมัก โดยหมักที่อุณหภูมิ 12 – 15 องศาเซลเซียส เพื่อให้การหมักเป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียสารให้กลิ่นรสไปกับคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนที่เกิดจากการหมัก ใช้เวลาหมักประมาณ 20 วันเนื่องจากใช้อุณหภูมิต่ำในการหมัก
การหมักองุ่นแดงจะหมักทั้งเปลือกเพื่อสกัดสีและแทนนินจากเปลือกองุ่น โดยใช้อุณหภูมิ 25 องศา เพื่อให้สกัดได้ดี และเนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดระหว่างการหมัก จะทำให้เปลือกองุ่นลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของน้ำหมัก จึงต้องใช้ถังหมักชนิดที่สามารถหมุนวนน้ำหมัก หรือมีอุปกรณ์สำหรับกดให้เปลือกองุ่นจมอยู่ในน้ำหมัก และมีการปั๊มน้ำหมักไปลดอุณหภูมิเหลือ 15 – 20 องศาแล้วปล่อยกลับลงถังหมัก ทำเช่นนี้เป็นเวลา 4 – 7 วัน จากนั้นจึงนำน้ำหมักที่มีเปลือกไปคั้นแยกเปลือกออกในเครื่องบีบองุ่นแบบเดียวกับที่ใช้คั้นน้ำองุ่นขาว แล้วนำน้ำหมักไวน์แดงไปหมักต่อในถังหมักอีกประมาณ 12 วัน หรืออาจหมักต่อในถังไม้โอ๊คก็ได้ หากต้องการกลิ่นรสของโอ๊คในไวน์นั้นๆ
ไวน์ที่หมักได้จะมีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 – 13 %

รา

การจำแนกชนิดเชื้อราก่อโรค

เชื้อรามีทั้งชนิดที่ให้คุณดังได้กล่าวมาแล้วและชนิดที่อาจเป็นภัยต่อมนุษย์ กล่าวคือภัยจากพิษของมันโดยตรง เช่น รับประทานเห็ดเมา นอกจากนั้น เชื้อราบางชนิดยังสามารถก่อโรคต่อร่างกายมนุษย์ ตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อยที่ผิวหนังไปจนถึงกับเสียชีวิต เนื่องจากเชื้อเหล่านี้เข้าไปทำอันตรายอวัยวะภายใน

ปัจจุบันมีเชื้อราที่ขึ้นทะเบียนชื่อไว้มากกว่า 200,000 ชนิด บางชื่อก็ตั้งชื้นซํ้าของเดิม เชื้อเหล่านี้นอกจากก่อโรคขึ้นในคนแล้วยังก่อโรคได้ในพืชและสัตว์นานาชนิด เชื้อที่ก่อโรคในคนจัดอยู่ใน subdi¬vision Eumycota2 (ตารางที่ 2-1) ซึ่งสามารถจำแนกโดยอาศัยการสืบพันธุ์เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
1. พวกที่สืบพันธุ์แบบมีเพศ (presented perfect state spores)
เชื้อราบางชนิดมีการสืบพันธุ์อย่างง่ายๆ โดยสายรา 2 เพศมารวมกันกลายเป็นเพศที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 class คือ
1.1    Zygomycetes (Phycornycetes)
1.2    Ascomycetes
1.3    Basidiomycetes
2. พวกที่สืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ (presented imperfect state spores, Fungi imperfecti)
เชื้อขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) สร้างสปอร์ในภาวะที่เหมาะสม เชื้อกลุ่มนี้บางชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบมีเพศได้ เช่น Histoplasma capsidatum เชื้อที่เกี่ยวข้องกับคนพบได้ 2 orders คือ
2.1 Torulopsidales
2.2 Hyphomycetes
ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเฉพาะเชื้อราที่พบในประเทศไทยเท่านั้น
1.1 Zygomycetes (Phycomycetes)
เชื้อใน class Zygomycetes จัดเป็นราชั้นตํ่า ไม่มีผนังกั้น (coenocytic) สร้างสปอร์ทั้งแบบไม่มีเพศ (asexual spore) และแบบมีเพศ (sexual spore) ชนิดไม่มีเพศ่แสดงลักษณะของ sporangio- spore หรือเกิด conidia จริงๆ ส่วนชนิดมีเพศสปอร์เกิดจากการรวมตัวของ gametangium 2 สาย ซึ่ง
ตารางที่ 2-1 Fungi subdivision Eumvcota (Ainsworth etal)
1.Presented perfect state spores
1.1 Class Zygomycetes (Phycomycetes)
Order Mucorales
Genus A bsidia
Genus Mucor
Genus Rhizopus
Genus Mortierella
Order Entomophthorales
Genus Basidiobolus
Genus Conidiobolus
1.2  Class Ascomycetes
Family Saccharomyceae
Genus Saccharomyces
1.3 Class Basidiomycetes
2. Presented imperfect state spores (Fungi imperfecti)
2.1 Order Torulopsidales
Family Cryptococcaseae
Genus Candida
Genus Cryptococcus
Genus Pityrosporum
Genus Rhodotorula
Genus Torulopsis
Genus Trichosporon
2.2 Order Moniliales (Hyphomycetes)
2.2.1 Dermatophytes
Genus Trichophyton
Genus Microsporum
Genus Epidermophyton
2.2.2 Dematiaceous fungi (Black molds)
Genus Phialophora
Genus Cladosporium
Genus Piedraia
Genus Madurella
Genus Pyrenochaeta
Genus Wangiella
Genus Exophiala
Genus Fonsecaea
2.2.3 Dimorphic fungi
Genus Histoplasma
Genus Blastomyces
Genus Coccidioides
Genus Paracoccidioides
Genus sporothrix
2.2.4 Contaminants
———————————
มีอยู่ 2 Order ที่สำคัญคือ Mucorales และ Entomophthorales
Mucorales
เชื้อนี้ชอบขึ้นในอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้เน่าเปื่อย เชื้อสามารถก่อโรคในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณตาและจมูก สุดท้ายสามารถเข้าไปสู่สมองทำให้ผู้ป่วยมักถึงแก่กรรม เชื้อเหล่านี้ได้แก่
Absidia corymbifera (Cohn) Saccado and Trotter 1912
Mucor ramosissimus Samutsevitsch 1927 
Rhizopus arrhizus Fischer 1892 
Rhizopus oryzae Went and Prinsen, Gerlings 1895
นอกจากนี้เชื้อจีนัส Mortierella Coemans (1863) ก็สามารถทำให้เกิดแผลเรื้อรังขึ้นที่ผิวหนัง
Entomophthorales
เชื้อใน Order นี้มีความแตกต่างจาก Mucorales ตรงที่มี secondary conidia อันเกิดจาก primary conidia ที่สำคัญมีอยู่ 2 จีนัสคือ Basidiobolus และ Conidiobolus
Basidiobolus โดยทั่วไปอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น คางคก กบ และ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งจก และทำให้เกิดโรคในคนขึ้นได้เรียกว่า Entomophthoramycosis basidiobolae ปัจจุบันเชื้อ Basidiobolus ที่ก่อโรคในคนมีชนิดเดียวคือ B. meristosporus (B. haptosporus) Drechsler 19473
Conidiobolus เป็นเชื้อที่รู้จักกันมานานคือ C. coronatus (Costantin) Batko (1964) ทำให้เกิด nasal polyp ในจมูกม้า Bras1 และคณะในปี พ.ศ.2508 ได้รายงานโรคเกิดขึ้นในคนที่บริเวณโพรง จมูก แล้วลามไปทำลายเนื้อเยื่อที่หน้า นอกจากนี้ยังมีเชื้อ C. incongruus ที่มีรายงานว่าก่อโรคขึ้นได้ที่ปอด ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้พบผู้ป่วยหญิงอายุ 20 ปี มีก้อนที่หน้าอกซ้ายนานแรมเดือน มีอาการไอ ไข้ และนํ้าหนักลดอย่างรวดเร็ว ต่อมากึงแก่กรรม ตรวจศพพบว่าโรคเกิดจากเชื้อ C. megalotocus4
1.2 Ascomycetes
ส่วนมากได้แก่ส่า (yeast) ซึ่งสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) และมี ascospore เกิดในอับที่เรียกว่า ascus Family ที่สำคัญคือ Saccharomycetaceae เชื้อเหล่านี้มีความสามารถหมักและ ย่อยน้ำตาลได้ดี จึงมีความสำคัญในการทำเหล้า เบียร์ แป้งข้าวหมาก ขนมฟู และเชื้อ Saccharomyces cerevisiae มีรายงานก่อโรคฝ้าขาว (thrush) ขึ้นได้ ในปากเด็ก ปัจจุบัน perfect stage ของเชื้อ His- toplasma capsulatum (Ajellomyces capsulatus), Blastomyces dermatitidis (Ajellomyces dermatitidis), Scedosporium apiospermum (Pseudallescheria botjdii), เชื้อกลาก และเชื้อรา ในธรรมชาติ เช่น Aspergillus, Penicillium ก็นับรวมอยู่ในข้อนี้
1.3 Basidiomycetes
เชื้อกลุ่มนี้เป็นพวกเห็ด โดยมากมี fruiting body ขนาดใหญ่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และบางชนิดใช้เป็นอาหาร สปอร์เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสต่างชนิดบน Basidium (ร่ม) เรียกว่า Basidio spore
เชื้อบางชนิดก่อโรคได้ในพืช เช่น rust และ smut นอกจากนี้ยังรวม perfect stage ของเชื้อ Cryptococcus neoformans (Filobasidiella neoformans) เข้าไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
2.1 Torulopsidales
เชื้อรามีลักษณะเป็นส่า สายราไม่ชัดเจน หรือไม่มีวงศ์ (Family) ที่สำคัญคือ Cryptococcaceae ซึ่งมีการแตกหน่อ อาจมี pseudomycelium, true mycelium, chlamydospore และ arthrospore โคโลนีเป็นสีครีม เหลือง แดง หรือส้ม แบ่งเป็นจีนัสได้ดังนี้
Candida species
เป็นส่าที่ไม่สร้าง arthrospore แต่มี pseu¬domycelium และ true mycelium รวมทั้ง blastospore เช่น Candida albicans ซึ่งทำให้เกิด โรคได้อย่างกว้างขวางในคน
van Uden และ Buckley ในปี พ.ศ. 25133 รายงานเชื้อไว้ 81 ชนิด โดยใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ในการหมักย่อยนํ้าตาลและไนเตรต
เชื้อก่อโรคในคนที่สำคัญมีอย่างน้อย 7 ชนิด
คือ5
C. albicans (Bobin) Berkhout 1923 
C. stellatoides Jones et Martin 1938 
C. tropicalis (Castellani) Berkhout 1923 
C. krusei (Castellani) Berkhout 1923 
C. parapsilosis (Ashford) Langeron et Talice 1959
C. pseudotropicalis (Castellani) Basgal 1931
C. guilliermondii Langeron et Guerra 1938
Cryptococcus species
เชื้อชนิดนี้เป็นส่าที่มีเมือกแคปซูลล้อมรอบ โคโลนีมีลักษณะเป็น
มูก (mucoid) เชื้อที่ก่อโรค ในคนมีชนิดเดียวคือ C. neoformans (Sanfelice) Vuillemin 19013 ทำให้เกิดโรค Cryptococcosis
Pityrosporum species
เชื้อจีนัสนี้มีการแบ่งตัวทางเดียว (monopolar budding) รูปร่างเป็นขวด อาหารเลี้ยงเชื้อต้องเติมไขมัน เช่น น้ำมันมะกอก ขึ้นได้ดีที่อุณหภมิ 30°-37°ซ. ในเวลาเซลล์แบ่งตัวจะทิ้งปลอกเดิมไว้ที่เซลล์แม่เป็นรอยลึก มองดูคล้ายปากขวด เชื้อนี้ได้รายงานเป็นครั้งแรกโดย Eickstedt ในปี พ.ศ.2389
Robin ได้บรรยายลักษณะของเชื้อราและให้ชื่อว่า Microsporon furfur เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเชื้อสร้างสปอร์คล้าย Microsporum furfur Gordon เป็นคนแรกที่เพาะเลี้ยงจนแยกเชื้อได้เมื่อปี พ.ศ.2494 และเรียกเชื้อว่า Pityrosporum orbiculare และเนื่องจาก Sabouraud เป็นคนตั้งชื่อจีนัส Pityrosporum ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของเชื้อราจึงเป็น Pityrosporum orbiculare (Robin) Sabouraud 1904
Keddie (1968) เชื่อว่า Pityrosporum orbiculare เป็นเชื้อเดียวกับ Malassezia furfur Robin, Baillon (1889) ในระยะที่เชื้ออยู่ในวุ้นเพราะมีลักษณะเป็นรูปขวดเรียกว่า Pityrosporum orbiculare ส่วนเชื้อที่ขูดได้จากผิวหนังผู้ป่วยมีรูปร่างเป็นปล้องสั้นๆ เรียกว่า Malassezia furfur ส่วน M. ovalis (Bizz) Acton และ Panja 1927 เป็นเชื้อที่ไม่ก่อโรค
Rhodotorula species
ส่ากลุ่มนี้มี carotinoid pigment จึงมีสีสวยงาม แดง ส้ม เหลือง บางภาวะอาจสร้างสายราขึ้นได้ เชื้อแยกได้จากสิ่งส่งตรวจหลายชนิด เช่น ผิวหนัง เล็บ น้ำดี และเลือด ชนิดที่พบบ่อยคือ Rh. mucilaginosa Harrison, 1928 แต่ไม่ก่อโรคในคน
Torulopsis species
จัดเป็นส่าที่มีความรุนแรงตํ่า ไม่มีสายรา และ ascospore สปีชีส์ที่ก่อโรคในคนมีสปีชีส์เดียว คือ T. glabrate (Anderson), Lodder และ De Vries (1938) Batista และคณะ แยกได้จากผิวหนัง รังแค ผม เมื่อปี พ.ศ.2504 และในปีเดียวกันนี้ Mackenzie พบว่าเป็นส่าที่พบได้บ่อยในปัสสาวะ Peter ในปี พ.ศ.2507 ได้แยกเชื้อจากช่องคลอดหญิงชาวเชคโกจำนวน 6,258 ราย และพบเชื้อนี้ร้อย ละ 21.77 นอกจากนี้เชื้อสามารถก่อโรคขึ้นที่อวัยวะภายในและกระจายไปตามกระแสโลหิต
Trichosporon species
ส่าชนิดนี้มี arthrospore เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ ชนิดที่ก่อโรคในคนคือ Trichosporon beigelii (cutaneum) (Kuechenmeister and Rabenhorst) Vuillemin 1902 ซึ่งทำให้เกิดโรค white piedra
Dermatophytes
เป็นกลุ่มของเชื้อกลากซึ่ง Emmon ได้รวบรวมจัดระบบใหม่ให้เหลือเพียง 3 จีนัสคือ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton (ตารางที่ 2-2) โดยอาศัยลักษณะของสปอร์เป็นหลัก ต่อมาพบว่า Microsporum และ Trichophyton บางชนิดเมื่อเลี้ยงบนผมที่อยู่บนดิน (hair bait) สามารถสร้าง cleistothecia ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบมีเพศ (perfect stage) ขึ้นมาได้
Perfect stage ของ Microsporum ชื่อ Nannizzia
Perfect stage ของ Trichophyton ชื่อ Arthroderma
นอกจากนี้ลักษณะของเชื้อกลากแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น
Trichophyton มีผิวโคโลนีได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นปุย ผง เนียน หรือเหมือนพรม ส่วนสีนั้น มีความแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ขาว แดง ม่วง ส้ม เหลือง หรือน้ำตาล ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบ microconidia จำนวนมากมาย ขนาดเล็ก เป็นเซลล์เดียวผนังบาง รูปกลมหรือรี แยกกันอยู่เป็นอิสระ หรือเป็นกลุ่มคล้ายรูปพวงองุ่นติดอยู่ข้างปล้องเชื้อ ส่วน macroconidia มีจำนวนน้อยกว่า หรือไม่มีเลยก็ได้ macroconidia มีขนาดใหญ่คล้ายรูปกระสวย และมีผนังกั้นเป็นห้องๆ ผนังไม่มีหนาม ขนาดกว้าง 4-6 ไมครอน ยาว 10-50 ไมครอน นอกจากนี้ อาจพบลักษณะพิเศษ เช่น racquet hyphae, coiled hyphae, chlamydospore และ nodular body
Microsporum มีผิวโคโลนีเป็นปุย ผงหรือ เหมือนพรม มีสีขาวจนถึงสีนํ้าตาล macroconidia มีขนาดใหญ่เป็นรูปกระสวยและผนังตะปุ่มตะป่ำ ส่วน microconidia เรียงตัวที่ก้านสปอร์อย่างอิสระ ไม่เป็นกลุ่ม
Epidermophyton มีผิวโคโลนีเหมือนพรม หรือเป็นผง ปรากฏร่องออกจากจุดกลาง โคโลนีมี สีเขียวอมเหลือง ในกล้องจุลทรรศน์พบ macroconidia รูปกระบองมีผนังขั้น 4 ห้อง ผิวเรียบ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เชื้อนี้ไม่สร้าง microconidia อาจพบลักษณะอื่นๆ เช่น chlamydospore และ racquet hyphae
ตารางที่ 2-2 แสดงชนิดของ Dermatophijtes (Rippon 1982)
Epidermophyton Sabouraud, 1910
*E. floccosum (Harz, 1870) Langerson et Milochevith, 1930
E. stockdaleae Prochacki et Engelhard-Zasada 1974 Microsporum Gruby, 1843
M. amazonicum Moraes, Borelli et Feo, 1967
*M. audouini Gruby, 1843
M. boullardii Diminik et Majchrowicz, 1965
**M. canis Bodin, 1902
M. cookei Ajello, 1959
**M. distortum Di Menna et Marples, 1954
**M. equinum (Delacroix et Bodin 1896) Gueguen 1904
*M. ferrugineum Ota, 1921
*M. fulvum Uriburu 1909
*M. gallinae (Megnin 1881) Grigorakis 1929.
M. gypseum (Bodin 1907) Guiart et Grigorakis 1928
**M. nanum Fuentes, 1956
**M. persicolor (Sabouraud, 1910) Guiart et Grigorakis, 1928
M. praecox Rivalier, 1954
M. racemosum Borelli, 1965
**M. ripariae Hubabek et Rush-Munro 1973
M. vanbreuseghemii Georg, Ajello, Friedman, et Brinkman 1962 Trichophyton Malmsten, 1845
T. ajelloi (Vanbreusfghem, 1952) Ajello,1968
*T concentricum Blanchard, 1895
**T. equinum (Matruchot et Dassonville, 1898) Gedoelst, 1902 T. flavescens Padhye et Carmichael 1971
T. georgiae Varsavsky et Ajello, 1964
T. gloriae Ajello, 1967
*T. gourvilli Catanei, 1933
T. longifusus (Florian et Galgoczy, 1964) Ajello, 1968
*T. megninii Blanchard, 1896
**T. mentagrophytes (Robin, 1853) Blanchard, 1894
var. mentagrophytes
var. interdigitale
var. erinacei
var. quinckeanum
T. phaseoliforme Borelli et Feo, 1966
*T. rubrum (Castellani, 1910) Sabouraud, 1911
*T. schoenleinii (Lebert, 1845) Langeron et Milochevitch, 1930 **T. simii (Pinoy, 1912) Stockdale, Mackenize et Austwick, 1965 *T. soudanense Joyeux, 1912
T. terrestre Durie et Frey, 1957
*T. tonsurans Malmsten, 1845
T. Vanbreuseghemii Rioux, Tarry et Juminer, 1964
*T. verrucosum Bodin, 1902
*T. violaceum Bodin, 1902
*T. yaoundeiCochet et Doby Dubois 1957
*ส่วนใหญ่แยกได้จากคน    **ส่วนใหญ่แยกได้จากสัตว์
ที่เหลือพบในดิน
—————————————————————————–
เชื้อกลากสามารถจำแนกตามนิเวศน์วิทยา (Ecology) ได้ดังนี้
1. Geophilic คือพวกที่อยู่ในดิน อาศัยสาร เคอราตินจากซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยเลี้ยงชีพ เชื้ออาจติดอยู่ตามขนสัตว์ได้โดยไม่พบรอยโรค เช่น M. gypseum, M. cookei, M. vanbreuseghemii, M. fulvum, T. ajelloi, T. terrestre
2. Zoophilic คือพวกที่เป็นปรสิตในสัตว์เลี้ยงและอาจติดต่อมายังคน เช่น M. canis, T. mentagrophytes, T. gallinae หรือ T. verrucosum
3. Anthropophilic คือพวกที่เป็นปรสิตในคน เช่น E.floccosum, T.megninii, T. tonsurans, T. violaceum, T. schoenleinii และ T. concentricum
เชื้อ dermatophytes ที่แยกได้จากผู้ป่วยในสาขาวิชาตจวิทยา ที่โรงพยาบาลศิริราช คือ T. rubrum, T. mentagrophytes, E. floccosum, M. canis และ M. gypseum
Dematiaceous fungus (Black molds)
เชื้อรากลุ่มนี้มีโคโลนีเป็นสีดำหรือม่วงแก่ โคโลนีอ่อนเห็นเป็นสีขาวหรือสีนวล แต่พอแก่จะมีสีเทา นํ้าตาล หรือดำ พบได้ตามดิน เชื้อสร้างสปอร์ ได้ 3 แบบคือ
1. Phialophora type เชื้อมีก้านชูสปอร์ เป็นรูปแจกัน สปอร์รูปร่างรีรวมเป็นกลุ่มอยู่ที่ปากแจกันมองคล้ายดอกไม้ที่ปักอยู่
2. Acrotheca type ก้านชูสปอร์ตรงปลายเรียวลง สปอร์รูปร่างรี รวมกันเป็นกลุ่มอยู่ตรงปลาย และไม่มีกิ่งก้านสาขา
3. Cladosporium type ก้านชูของสปอร์ตรง มีสปอร์รูปรีอยู่ตรงปลาย แต่สปอร์มีการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อนเพิ่มขนยาวออกมา สปอร์อันหนึ่งอาจแบ่งได้หลายจุด สปอร์ที่แบ่งตัวมองดูคล้ายกิ่งไม้
เชื้อราดำก่อให้เกิดโรคดังนี้
1. Chromoblastomycosis ก่อโรคในผิวหนังชั้นลึก ได้แก่เชื้อ
Phialophora verrucosa Medlar 1915
Fonsecaea pedrosoi (Brumpt) Negrant 1936
F. compacta (Carrian) Carrian 1940
Wangiella dermatitidis (Kano 1934) Me Ginnis 1977
Cladosporium carrionii Trejos 1954
2. Cutaneous phaeohyphomycosis ก่อโรคเป็นโพรงหนองอักเสบ ได้แก่เชื้อ
Exophiala spinifera (Nielsen et Conant) Mc Ginnis 1977
Phialophora richardsiae (Melin et Nannf ) Conant 1937
P. parasitica Ajello, Georg, Steigbigel et Wang 1974
P. repens (Davidson) Conant 1937
3. Black peidra โคโลนีของเชื้อเกิดขึ้นจับติดที่ผม ขน เช่น ขนตาเกิดจากเชื้อ Piedraia hortai (Brumpt) Fonseca et Area Leao 1928
4. Tinea nigra ก่อโรคบริเวณฝ่ามือ เป็นดวงสีดำสกปรกคล้ายถูกต้องเกลือเงิน เกิดจากเชื้อ Exophiala wernickii (Horta) van Arx 1970
5. Eumycotic mycetoma โรคอาจเกิดจากราดำหรือเชื้อราในธรรมชาติ เชื้อก่อโรคได้แก่
Pseudallescheria boydii (Shear 1922) Me Ginnis, Padhye et Ajello 1982
Exophiala jeanselmei (Langeron) Me Ginnis et Padhye 1977
Madurella mycetomatis (Laveran) Brumpt 1905
Madurella grisea Mackinnan, Ferrada et Mantemayer 1949
Pyrenochaeta romeroi Borelli 1959
นอกจากนี้ราดำอาจก่อโรคต่ออวัยวะภายใน เช่นที่สมองได้ เชื้อเหล่านี้คือ
C. trichoides Emmons 1952
C. bantianum (Sacc.) Borelli 1960
Dimorphic fungus (ราทวิรูป)
เชื้อกลุ่มนี้เมื่ออยู่ในร่างกายคนจะมีสภาพเป็น ส่า แต่ถ้าเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการจะมีสภาพเป็นราสาย ซึ่งสามารถทำให้เป็นส่าในห้องปฏิบัติการได้ โดยเลี้ยงในวุ้นเพาะพิเศษ เช่น brain heart in¬fusion blood agar โดยบ่มเชื้อไว้ที่ 37°ซ. ราทวิรูปมีด้วยกันหลายชนิด โชคดีที่ในประเทศไทยมีรายงานเพียงชนิดเดียวคือ H. capsulatum Darling, 1906 ซึ่งก่อโรค Histoplasmosis
Contaminant (เชื้อราแปลกปลอม)
เชื้อราเหล่านี้ส่วนใหญ่มีผนังกั้น (septatemycelium) พบได้ในธรรมชาติ เช่น ในดิน นํ้า อากาศ ซึ่งอาจก่อโรคภูมิแพ้หรือ mycetoma นอกจากนั้นยังสามารถก่อโรคที่ผิวของตาดำและหูชั้นนอก ในภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น เป็นโรคมะเร็ง ทุพโภชนาการ เชื้อเหล่านี้อาจก่อโรคที่อวัยวะภายในได้ เชื้อที่พบได้บ่อยคือ
Alternaria Nees ex Wallroth, 1833 Nam, Cons.
Aspergillus Wichell ex Link 1809
Cephalosporium Corda 1839
Cladosporium Link ex Gray 1821
Curvularia Boedijn 1933
ตารางที่ 2-3 Higher bacteria Order: Actinomycetales Buchanan 1917 (Holt)
1. รูปร่างไม่เป็นสาย เซลส์อาจต่อกันหรือเรียงตัวคล้ายเชื้อดิฟธีเรีย ไม่มีสปอร์
1.1 ติดสีทนกรด
Family     : Mycobacteriaceae
Genus    : Mycobacterium Lehmann and Neumann 1896
Disease     : Tuberculosis, Leprosy
1.2 ไม่ติดสีทนกรด ไม่ใช้ออกซิเจน
Family     : Actinomycetaceae
Genus    : Actinomyces Harz 1877
Disease     : Actinomycosis
2. รูปร่างเป็นสาย
2.1 สายหักได้ง่าย ใช้ออกซิเจน ติดสีทนกรดบ้าง (Partial acid fast) มีสปอร์
Family    : Nocardiaceae
Genus    : Nocardia Trevisan 1889
Disease     : Nocardiosis, Actinomycotic mycetoma
2.2 สายแบ่งตัวตามยาวและตามขวาง เป็นกลุ่มกลม เคลื่อนไหวได้ ไม่มีสายราอากาศ
Family     : Dermatophilaceae
Genus    : Dermatophilus van Sacegham 1915
Disease     : Dermatophilosis
2.3 สายหักยาก ใช้ออกซิเจน มีสายราอากาศ และสปอร์ต่อกันเป็นสายยาว
Family     : Streptomycetaceae
Genus    : Streptomyces Waksman and Henrici 1943
Disease     : Actinomycotic mycetoma
———————————————————————————–
Fusarium Link ex Gray 1821
Geotrichum Link 1809
Penicillium Link ex Gray 1821
Scedosporium Castellani 1927
มีรายงานผู้ป่วย Penicillosis จากโรงพยาบาลรามาธิบดีที่เกิดจากเชื้อ Penicillium marneffei 4 ราย ในจำนวนนี้ 3 รายเป็น Compromised host การตรวจชิ้นเนื้อพบเชื้อรารูปเป็น yeast อยู่ใน Reticulo-endothelial system แบบ Histoplasmosis
ราหม้อเล็ก (Chytrid) จัดอยู่ใน Order Chytridiales สัณฐานคล้ายหม้อข้าว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-100 ไมครอน อยู่ในที่ชื้นแฉะและในนํ้า จัดเป็นราชนิดเซลล์เดียว พอเซลล์แก่เกิดการแบ่งตัว ภายในได้ endospore ตัวก่อโรคในคนคือ Rhinosporidium seeberii (Wernicke) Seeber 1912 แบคทีเรียชั้นสูง Order Actinomycetales (ตารางที่ 2-3)
1. Actinomyces species
เชื้อจีนัสนี้รูปหักเป็นท่อนคล้ายเชื้อดิฟธีเรีย ขนาด 0.5-1.0 ไมครอน ไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobe) และไม่ติดสีทนกรด มีอยู่ปกติในช่องปากคน ตัวก่อโรคในคนคือ Actinomyces israelii (Kruse) Lachner-Sandaval 1898
2. Nocardia species
เชื้อ Nocardia พบได้ตามดิน ในบรรยากาศที่มีออกซิเจน (aerobe) ติดสี partial acid fast มีสปอร์ โดยปกติเชื้อนี้เรียงตัวเป็นสาย แต่ถ้าถูกกระทบกระแทกสายขาดจากกันง่าย ตัวก่อโรคในคนคือ
N. asteroides (Eppinger 1891) Blanchard, 1895
N. brasiliensis (Lindenberg, 1909) Cas¬tellani and Chalmers, 1913
N. caviae (Erickson) Gardan and Mihm,1962
3. Dermatophilus species
เชื้อ Dermatophilus ก่อโรคในสัตว์ เช่น แกะ วัว ควาย ติดต่อมายังคนได้ รูปร่างเป็นสาย มีการแบ่งตัวทั้งตามยาวและตามขวาง แบ่งแล้วเป็นรูปกลม อยู่กันเป็นกลุ่มคล้ายแบคทีเรียชั้นตํ่า เมื่อแก่ตัวสาย ปลดปล่อย Zoospore ขนาด 0.3-0.5 ไมครอน เคลื่อนไหวได้ ชอบบรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ติดสีแกรมบวก ไม่ติดสีทนกรด ตัวก่อโรคในคนคือ Dermatophilus congolensis Van Saceghem 1915
4. Streptomyces species
เชื้อ Streptomyces ต่อกันเป็นสายยาวไม่ขาดจากกัน ต้องการบรรยากาศที่มีออกซิเจน ไม่ติดสีทนกรด มีสปอร์ต่อกันเป็นสาย ตัวก่อโรคในคนคือ Streptomyces somaliensis (Brumpt) Waksman and Henrici 1948
5. Coryneform Actinomycetes
ติดสีกรัมบวก รูปเป็นเส้นตรงหรือโค้งเล็กน้อย ไม่เป็นสาย ติดสีไม่สมํ่าเสมอ
Family : Corynebacteriaceae
Genus : Corynebacterium Lehmann and Neumann, 1896 Disease : Erythrasma, Trichomycosis axillaris, Pitted keratolysis     เชื้อ Corynebacterium ติดสีกรัมบวก ขึ้นได้ดีในบรรยากาศที่ร้อนและชื้นอย่างประเทศไทย ตัวก่อโรคในคนคือ
Corynebacterium tenuis (Castellani) Crissey et al. 1952
C. minutissimum (Burchardt) Sarkany, Taplin and Blank 1961
นอกจากนี้สาหร่าย (algae) ที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ อาจก่อโรคที่ผิวหนังและอวัยวะภายในได้คือ Prototheca โคโลนีเป็นเนยแบบส่า มีการสืบพันธุ์แบบ asexual spore ชนิด endospore ภายในถุงสปอร์ (sporangium) บางคนเรียกว่า theca cell ภายใน มี 2-10 endospore เมื่อแก่ตัวจะแตกออก เชื้อนี้พบได้ในน้ำ ตัวก่อโรคในคนขึ้นได้ที่ 37°ซ. คือ Prototheca zopfii Krueger 1894 และ P. wickerhamii Tubaki et Saneda 1953

http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/

ลิพิด

ลิพิด

ลิพิดหรือไขมัน คือ สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายนํ้า แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอื่น เช่น อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม เบนซิน อะซีโตน ฯลฯโมเลกุลลิพิดประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน เช่นเดียวกับ คาร์โบไฮเดรต แต่สัดส่วนของธาตุแตกต่างกัน ลิพิดที่สำคัญ ได้แก่
-ไขมันธรรมดา (Simple Lipid)
ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล กับกรดไขมัน 1, 2 หรือ 3 โมเลกุลก็ได้ ซึ่งเรียกว่า มอโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride), ไดกลีเซอไรด์ (diglyceride) หรือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ตามลำดับ ไขมันที่พบมากที่สุดในสัตว์และพืชคือ ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันและนํ้ามันทุกชนิดมีกลีเซอรอลเหมือนๆ กัน สิ่งที่ทำให้ไขมันและนํ้ามันมีหลายชนิดและมีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพแตกต่างกัน คือ กรดไขมันต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ

กรดไขมัน มีทั้งที่เป็นองค์ประกอบของลิพิดต่างๆ และอยู่ในรูปอิสระ โดยทั่วไปกรดไขมันจากธรรมชาติ มีแกนโมเลกุลเป็นคาร์บอน จำนวนเป็นคู่ เรียงเป็นสายยาวไม่แตกแขนง ที่พบมากที่สุดคือ กรดไขมันคาร์บอน 16 ตัว และ 18 ตัว กรดไขมันแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ได้หลายอย่าง ดังนี้
แบ่งตามระดับความอิ่มตัว
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่คาร์บอนต่อกับคาร์บอนด้วย พันธะเดี่ยว เช่น กรดปาลมิติก (C15H31COOH), กรดสเตียริก (C17H35COOH)
   2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีคาร์บอนบางอะตอมต่อกันด้วยพันธะคู่ ทำให้โมเลกุลไขมันจับไฮโดรเจนได้ลดลง 2 อะตอมต่อพันธะคู่ 1 พันธะ เช่น กรดโอเลอิก (C17H33COOH) ซึ่งมีพันธะคู่ 1 พันธะกรดไลโนเลอิก (C17H31COOH)
    แบ่งตามความต้องการทางโภชนาการ
    1. กรดไขมันจำ เป็น (essential fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร มีชนิดเดียวคือ กรดไลโนเลอิก มีมากในนํ้ามันพืชต่าง ๆ (ยกเว้น นํ้ามันปาล์มและนํ้ามันมะพร้าว) และไขมันสัตว์นํ้า เช่น ปลา หอย ความสำคัญ คือ เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ผนังหลอดเลือด และเยื่อหุ้มเซลล์ รวมตัวกับโคเลสเตอรอลเพื่อขนส่งไปในกระแสเลือด ซึ่งจะมีผลให้ลดระดับ โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
    2. กรดไขมันไม่จำเป็น (nonessential fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ และมีอยู่มากในอาหารไขมันทั่ว ๆ ไป
    แบ่งตามความยาวของสาย
    1. กรดไขมันสายสั้น และกรดไขมันสายปานกลาง (shot and medium chain fatty acids) เป็นกรดไขมันที่ประกอบด้วยคาร์บอน 4 – 8 อะตอม และ 10 – 12 อะตอม พบมากในไขมันจากพืช (ยกเว้นนํ้ามันมะพร้าวและนํ้ามันปาล์ม) อยู่ในสภาพที่เป็นนํ้ามัน
    2. กรดไขมันสายยาว (long chain fatty acid) ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 14 อะตอมขึ้นไปจนอาจจะมากถึง 24 อะตอม พบมากในไขมันสัตว์ แข็งตัวง่าย

    - ไขมันเชิงประกอบ (Compound Lipid)
    ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) โครงสร้างคล้ายไตรกลีเซอไรด์ (กลีเซอรอลจับกับกรดไขมัน 3 โมเลกุล) แต่มีหมู่ฟอสเฟตแทนที่กรดไขมัน 1 โมเลกุล โดยหมู่ฟอสเฟตมักจับหมู่สารประกอบไนโตรเจนที่มีประจุ ทำให้โมเลกุล ฟอสโฟลิพิดประกอบด้วย 2 ส่วนที่มีสมบัติต่างกัน
    • ส่วนที่ชอบนํ้า (hydrophilic part) คือ ส่วนที่เป็นหมู่ฟอสเฟตและสารประกอบไนโตรเจนที่มีประจุ เป็นส่วนหัวที่มีขั้ว (polar head) มีสมบัติละลายนํ้า
    • ส่วนที่ไม่ชอบนํ้า (nonpolar tail) คือ ส่วนใหญ่ของโมเลกุลที่เป็นกรดไขมัน เป็นส่วนหางที่ไม่มีขั้ว (nonpolar tail) ไม่ละลายนํ้า
    โมเลกุลฟอสโฟลิพิดเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีโมเลกุลฟอสโฟลิพิด หนา 2 ชั้น เรียงตัวจัดส่วน ไม่ชอบนํ้าอยู่ด้านในและประกบกัน ส่วนชอบนํ้าอยู่ด้านนอก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน สารไม่มีขั้วและสารละลายได้ในไขมันผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่ สารมีขั้วต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพาหรือใช้พลังงานด้วย นอกจากนี้โมเลกุลฟอสโฟลิพิดยังทำหน้าที่ล้อมรอบหยดไขมัน ทำให้ลำเลียงไขมันไปในเลือดซึ่งเป็นตัวกลางแบบนํ้าได้
    - อนุพันธ์ของไขมัน (Derived Lipid)
    สเตรอยด์ เป็นลิพิดที่มีโครงสร้างแตกต่างจากไขมันและฟอสโฟลิพิด ประกอบด้วยวงของคาร์บอน 5 หรือ 6 อะตอม ต่อกัน 4 วง สเตรอยด์ที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต, โคเลสเตอรอล, วิตามินดี
    โคเลสเตอรอล เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์โดยเพาะเซลล์ประสาท เป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนสเตรอยด์

    http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/288-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%94+(lipid)?groupid=132

    วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

    แบคทีเรีย


    แบคทีเรีย 



    แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
    • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
    • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
    • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
    • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
      • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
      • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
      • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
      • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี
    แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี

    แผนภูมิต้นไม้แบบวงกลม แสดงวงศ์วานวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตระบบเซลล์ โดยแบ่งตามอาณาจักรและโดเมน สีม่วงคือแบคทีเรีย สีเทาเข้มคืออาร์เคีย สีน้ำตาลคือยูแคริโอต โดยยูแคริโอตยังแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักรคือ สัตว์(แดง) ฟังไจ (น้ำเงิน) พืช (เขียว) โครมาลวีโอลาตา (น้ำทะเล) และ โพรทิสตา (เหลืองทอง) โดยมีจุดศูนย์กลางคือ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA)

    การจำแนกแบคทีเรียในทางอนุกรมวิธาน

    1. Kingdom Archaea (แบคทีเรียโบราณ)
    2. Kingdom Bacteria (แบคทีเรีย)

    วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

    คุณประโยชน์ของผัก


     
    ลำดับ
    ชนิด
    คุณสมบัติ
    1สะเดา  (Neem  tree)มีเบต้าแคโรทีนสูง   บำรุงสายตา   เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
    2ผักกาดขาว (Chinese white cabbage)ช่วยระบบย่อยอาหาร  ขับปัสสาวะ  แก้ไอ  มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ
    3ต้นหอม  (Shallot)มีน้ำมันหอมระเหย  บรรเทาอาการหวัด  มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
    4แครอท (Carrot)เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง  มีแคลเซียม  แพคเตท  ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
    5หอมหัวใหญ่ (Onion)มีสารฟลาโวนอยด์  ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    6คะน้า (Chinese kale)มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง  ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
    7พริก (Chilli)มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด  ช่วยให้เจริญอาหาร  ขับเหงื่อ
    8กระเจี๊ยบเขียว (Okra)ลดความดันโลหิต  บำรุงสมอง  ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
    9ผักกระเฉด(Water mimosa)ดับพิษไข้  กากใยช่วยระบบขับของเสีย  เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
    10ตำลึง (Ivy  gourd)มีวิตามินเอสูง  ดีต่อดวงตา  เส้นใยจับไนเตรต  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
    11มะระ (Chinese bitter cucumber)มีแคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
    12ผักบุ้ง (Water  spinach)บรรเทาอาการร้อนใน  มีวิตามินเอบำรุงสายตา  ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
    13ขึ้นฉ่าย (Celery)กลิ่นหอม  ช่วยเจริญอาหาร  มีวิตามินเอ  บี  และซี  บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
    14เห็ด (Mushroom)แคลอรีน้อย  ไขมันต่ำ  มีวิตามินดีสูง  ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
    15บัวบก (Indian  pennywort)มีวิตามินบีสูง  ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย  บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
    16สะระแหน่ (Kitchen mint)กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น  ทำให้ความคิดแจ่มใส  แก้ปวดหัว
    17ชะพลู (Cha-plu)รสชาติเผ็ดเล็กน้อย  แก้จุกเสียด  ขับเสมหะ  มีแคลเซียมสูง
    18ชะอม (Cha-om)ช่วยลดความร้อนในร่างกาย  ขับลมในลำไส้  มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
    19หัวปลี (Banana  flower)รสฝาด  แก้ร้อนใน  กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม  มีกากใย  โปรตีน และวิตามินซีสูง
    20กระเทียม (Garlic)ลดไขมันในเลือด  ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
    21โหระพา (Sweet  basil)น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก  ช่วยระบายลม  มีเบต้าแคโรทีน  แคลเซียม
    22ขิง (Ginger)บรรเทาอาการหวัดเย็น  ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน  แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
    23ข่า (Galangal)น้ำมันหอมระเหย  ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม  มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  และเชื้อรา
    24กระชาย (Wild ginger)บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  บำรุงธาตุ  มีวิตามินเอและแคลเซียม
    25ถั่วพู (Winged bean)ให้คุณค่าทางอาหารสูง  มีโปรตีน  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และสาร  ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
    26ดอกขจร (Cowslip  creeper)กระตุ้นให้รู้รสอาหาร  ให้พลังงานสูง  ประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน
    27ถั่วฝักยาว (Long bean)มีเส้นใย  ช่วยลดคอเลสเตอรอล  มีวิตามินซี  ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก  บำรุงเลือด
    28มะเขือเทศ (Tomato)มีวิตามินเอสูง  วิตามินซี  รสเปรี้ยว  ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย  และแก้อาการคอแห้ง
    29กะหล่ำปลี (White cabbage)มีกลูโคซิโนเลท  เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง  และมีวิตามินซีสูง
    30มะเขือพวง (Plate brush eggplant)ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด  มีแคลเซียม  และฟอสฟอรัส
    31ผักชี (Chinese  paraley)ขับลม  บำรุงธาตุ  ช่วยย่อยอาหาร  มีน้ำมันหอมระเหย  แก้หวัด  มีวิตามินเอและซีสูง
    32กุยช่าย (Flowering chives)มีกากใยช่วยระบายของเสีย  มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
    33ผักกาดหัว (Chinese radish)แก้ไอ  ขับเสมหะ  เพิ่มภูมิต้านทางโรค  มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
    34กะเพรา (Holy basil)แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง  มีเบต้าแคโรทีนสูง  ป้องกันโรคมะเร็ง  และโรคหัวใจขาดเลือดได้
    35แมงลัก (Hairy  basil)ช่วยย่อยอาหาร  ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ขับลม  ขับเหงื่อ
    36ดอกแค (Sesbania)กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  มีวิตามินเอสูง  บำรุงสายตา